หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ แขนงความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security)
หลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ แขนงความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ (Master of Science in Information Systems Security: MISS) ที่ได้เริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโทหลักสูตรเเรกในประเทศไทยที่มุ่งเน้นที่จะผลิตบุคลากรที่จะไปทำงานทางด้านความมั่นคงทางระบบสารสนเทศโดยเฉพาะ หลักสูตรนี้มุ่งเน้นในการสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ในทุกแง่มุมต่างๆของความมั่นคงสารสนเทศที่ทันสมัยในอุตสาหกรรม
หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) ทันสมัย ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม
Top 10 Cyber Security Skills you need to know!!
หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) เน้นการสร้างบัณฑิตที่มีความรู้เเละทักษะ (Skill) ในทุกแง่มุมต่างๆของความมั่นคงสารสนเทศที่ทันสมัยในอุตสาหกรรม อันประกอบไปด้วยความเชี่ยวชาญ 10 ด้าน Network Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานบนระบบเครือข่าย) ทีผู้เชียวชาญจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะทำระบบที่อยู่ด้านบนของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย โดยเฉพาะการ Secure Network Layer ล่างๆ ของ OSI เป็นต้น, Software Security Cyber Security Specialist สมัยใหม่ต้องก้าวข้ามผ่านงานเดิมๆ สมัยก่อน เนื่องมาจากสมัยนี้ IT มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาระบบต่างๆให้มีความสะดวก ใช้งานง่ายมากขึ้น เพราะฉะนั้นในช่วงของการนำระบบ IT ในรูป Software มา Streamline ภาคธุรกิจจึงมีมากขึ้น เเน่นอนคุณก็อาจต้องไปมีส่วนในการพัฒนาระบบ เช่น Web Application หรือ Customize Software ให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นด้วย, Auditor เเน่นอนงาน auditor เเทรกซึมในทุกภาคส่วนมาตั้งเเต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เเละดูจะมีเเนวโน้มมากเรื่อยๆด้วย ตามภัยคุกคามที่มากขึ้น ใกล้ตัวทุกคนมากขึ้นในปัจจุบัน, Server Security เเละ Computer Security ปัจจุบันเเนวโน้มการจัดการทรัพยากรในระบบเครือข่ายมีเเนวโน้มรวมศูนย์อีกครั้ง นอกจากความรู้พื้นฐานในการ Secure Server เเละเครื่อง Client เเบบเดิม Cyber Security Specialist ต้องรู้เรื่อง Server Technology เช่น cloud เเละวิธีจัดการ Cloud ให้มีความปลอดภัย, ความเชี่ยวชาญอันสุดท้ายที่จะ Cover ในปีการศึกษาเเรกก็คือ Network Security เเน่นอน ถ้าโลกเราไม่ต้องมีการเเลกเปลี่ยนข้อมูล (Information) เราคงไม่ต้องตระหนักเรื่องความปลอดภัยมากนัก ตรงกันข้ามระบบที่เราใช้ในปัจจุบันเเทบทั้งหมดมีการเเลกเปลี่ยนข้อมูล การ Secure ด้านเครือข่ายจากภัยคุกคามหลายรูปเเบบจึงมีความสำคัญมาก
Skills ที่เหลือในปีการศึกษาที่ 2 ล้วนเเต่ต้องมีความรู้พื้นฐานก่อนหน้านี้ Application Security & Penn Test การทดสอบเจาะระบบเพื่อหาความเสี่ยง (Vulnerabilities) ต่างๆมีความสำคํญเพื่อวิเคราะห์เเละประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึนไม่ว่าจะจากส่วนไหนก็ตาม Wired or Wireless Network Penn Test, Physical Penn Test, Application Penn Test เเละอีกมากมาย จะสังเกตุว่าถ้าไม่มี Skills ด้านอื่นๆก่อนหน้านี้การทำ Penn Test จะยากมาก, Forensics (การเเกะรอยหลักฐานทางอาชญกรรมทางคอมพิวเตอร์) เเน่นอนเมื่อโดยโจมตี Cyber Security Specialist ต้องสามารถเเกะรอยเก็บรวบรวมหลักฐานดิจิทัลจากที่เกิดเหตุ เช่น บนระบบเครือข่าย memory หรือ OS เพื่อจะหาผู้กระทำผิดเเละป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำซำ้อีก, อีก Skills ที่มาเเรงเป็นที่ต้องการก็คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data Analysis อาจจะเพื่อทำนายเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการเตรียมการป้องกัน เช่นนำข้อมูลจาก transaction การส่งรับ email มาทำนาย email ที่เข้ามาว่าจะเป็น spam email หรือไม่ หรือ อาจจะวิเคราะห์จัดกลุ่มเเยกประเภทการโจมตีต่างๆ ถ้าคล้ายคลึงกันก็จะเตรียมมาตรการในการป้องกันมาใช้ เป็นต้น, สุดท้าย Domain Knowledge ซึ่งจะอยู่ในรูปเเบบของการค้นคว้าในเรื่องเฉพาะที่สนใจจริงๆ ในรูปเเบบของโครงงาน เช่น Blockchain Technology เป็นต้น
1. จำนวนหน่วยกิต 39 หน่วยกิต
2. องค์ประกอบของหลักสูตร
ก. หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาสัมมนา 4 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 20 หน่วยกิต
1. จำนวนหน่วยกิต 39 หน่วยกิต
2. องค์ประกอบของหลักสูตร
ก. หมวดวิชาบังคับ 24 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเเขนงระบบเครือข่ายองค์กร 9 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
- NEIS 0706 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) *
- NEIS 0707 หลักการสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Fundamental of Information System Security)*
- NEIS 0708 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาสคริบต์ (Script Language Programming) *
- NEIS 0709 เทคนิคการสวิตช์และเร้าติ้ง (Switching and Routing Techniques)*
- NEIS 0710 ความมั่นคงปลอดภัยบนเครือข่าย (Network Security)*
- NEIS 0711 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบสารสนเทศ (Information System Management Related Standards)
- NEIS 0712 การประมวลผลบนคลาวด์และการใช้งาน (Cloud Computing and Implementation)
- NEIS 0713 การบริหารระบบและความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System Administration and Security)*
- NEIS 0730 การเจาะระบบและทดสอบความมั่นคงปลอดภัย (Hacking and Penetrate Security Testing)*
- NEIS 0731 การออกแบบและจัดการศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Security Operation Center Design and Management)
- NEIS 0732 อาชญกรรมไซเบอร์และการพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล (Cyber Crime and Digital Forensic)*
- NEIS 0733 ความมั่นคงปลอดภัยบนเครือข่ายสมัยใหม่ (Modern Networking Security)*
- NEIS 0734 Selected Topics - วิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering)
- NEIS 0736 ความมั่นคงปลอดภัยของซอฟต์แวร์ (Software Security)*
- NEIS 0737 ข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ (Big Data Analysis)
- NEIS 0738 วิทยาการเข้ารหัสลับและเทคโนโลยีบล๊อกเชน (Cryptography and Blockchain Technology)
- NEIS 0714 การศึกษาค้นคว้าอิสระ 1 (Independent Study I)
- NEIS 0715 การศึกษาค้นคว้าอิสระ 2 (Independent Study II)
- รายวิชาเเผน ก
- NEIS 0700 ระเบียบวิธีการวิจัย (Research Methodology)
- NEIS 0701 คณิตศาสตร์สำหรับงานวิจัย (Mathematics for Research)
- NEIS 0702 สัมมนา 1 (Seminar I)
- NEIS 0703 สัมมนา 2 (Seminar-II)
- NEIS 0704 วิทยานิพนธ์ 1 (Thesis-I)
- NEIS 0705 วิทยานิพนธ์ 2 (Thesis-II)
- NEIS 0706 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) *
- NEIS 0707 หลักการสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Fundamental of Information System Security)*
- NEIS 0708 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาสคริบต์ (Script Language Programming) *